




+5
แว่นตา 'ชูรอน' อเมริกันแฮนด์คราฟท์ที่ยืนยาวกว่า 155 ปี ทรงโบราณ 'จอห์น เลนนอน'ส วินด์เซอร์' ทองโกลด์ฟิลด์ 12 K สัดส่วนทองคำบริสุทธิ์ 50\% ทศวรรษที่ 1950's เลนส์กระจกวินเทจ 'สีน้ำตาล - ชา'

กรุงเทพ
รายละเอียดสินค้า
- หมวดหมู่หลัก
- จังหวัดที่ตั้งสินค้า
- ปีที่จดทะเบียนครั้งแรกค.ศ. 2020 / พ.ศ. 2563
ข้อมูลเพิ่มเติม
'ชูรอน' (Shuron) แว่นตาโบราณที่เก่าแก่เป็นลำดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา ยืนยงมาถึง 155 ปี อลังการงานสร้างทศวรรษที่ 1950's ทองโกลด์ฟิลด์ 12 K สัดส่วนทองคำบริสุทธิ์ 50\% โมเดลโบราณ 'จอห์น เลนนอน'ส วินด์เซอร์' เลนส์กระจกวินเทจ 'สีน้ำตาล - ชา' ขนาดมาตรฐานของโมเดลนี้ 120 mm (ไม่เหมาะสำหรับคนใบหน้าใหญ่) 'ชูรอน' (Shuron) แว่นตาโบราณ 155 ปี ตำนานอเมริกันแฮนด์คราฟท์ที่ยังมีชีวิต¹ 'ชูรอน' ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1865 (155 ปีที่แล้ว) ในกรีนวิลล์ เซาท์แคโรลินา โดย 'ไวท์ ชูรอน' (White Shuron) ถือเป็นแบรนด์แว่นตาเก่าแก่ที่สุดลำดับ 2 (รองจาก AO American Optical : 1826) ของสหรัฐอเมริกา² ระยะแรก 'ชูรอน' ผลิต 'เลนส์กระจก' และ 'กรอบแว่นตา' เป็นงานแฮนด์คราฟท์คุณภาพเยี่ยม ในเจนีวา, นิวยอร์ก ก่อนย้ายฐานการผลิตมายัง 'โรเชสเตอร์' เมืองเดียวกับถิ่นที่ตั้ง 'บอสช์ แอนด์ ลอมบ์' (Bausch & Lomb : ผู้ให้กำเนิดแว่นตา Ray - Ban แสนสะท้าน) กระทั่งทำให้ 'โรเชสเตอร์' เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองสำคัญแห่งแว่นตา ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปลายทศวรรษที่ 1930's - '40s 'ชูรอน' มีบทบาทอย่างยิ่งในการผลิตแว่นตาทหารให้แก่กองทัพสหรัฐ ซึ่งรวมถึงแว่นตาโมเดล 'อะเวียเตอร์ - แมคอาร์เธอร์' (Shuron Aviator MacAurther) ที่งดงาม มีอัตลักษณ์ เป็นของหายาก และเป็นตำนานไปแล้ว ว่าที่จริง แว่นตา 'ชูรอน' ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์ของตนเอง คือ แว่นตาโกลด์ฟิลด์ 12 K ไร้กรอบ ซึ่งสามารถดีไซน์รูปทรงของเลนส์ตามความต้องการของผู้สวมใส่ เรียกว่า 'ริมไวน์ - ริมเวย์' (the Rimwinne - Rimway : ทุกวันนี้ไม่มีผลิตด้วยทองโกลด์ฟิลด์แล้ว) ที่งดงาม ทรงคุณค่าด้วยงานทองแกะลาย (Engraved Gold Filled Frame) นับแต่เริ่มผลิตจนถึงวันที่ 3 กันยายน 1946 มียอดจำหน่ายสูงถึง 7,000,000 คู่ ค.ศ.1947 'ชูรอน' สร้างปรากฏการณ์สำคัญอีกครั้ง เมื่อศิลปินนักออกแบบแว่นตานามว่า 'แจ็ค โรห์บาค' (Jack Rohrbach : รองประธานบริษัทแว่นตา Shuron) สร้างสรรค์แว่นตากรอบโลหะแนวใหม่ที่มี 'คิ้ว' (Brow) เป็นพลาสติค ภายใต้ชื่อโมเดลว่า 'ชูรอน รอนเซอร์³' (Shuron Ronsir) ภายหลังนิยมเรียกตามอัตลักษณ์ที่เด่นชัดของแว่นตาประเภทนี้ว่า 'แว่นคิ้ว' (Browline Model) 'ชูรอน รอนเซอร์' หรือ 'แว่นตาโบรว์ไลน์' นั่นเอง คือแรงบันดาลใจและต้นแบบของแว่นตา 'นายกสโมสร' (Clubmaster) ที่ 'เรย์ - แบน แสนสะท้าน' สร้างสรรค์ออกมาในทศวรรษที่ 1980's และประสบความสำเร็จอย่างยิ่งมาถึงทุกวันนี้ แต่ความจริงก็คือว่า 'ชูรอน' คือ 'ออริจินัล' เป็น 'ราชันย์ผู้ปราบดาภิเษกขึ้นครองบัลลังก์แห่งแว่นคิ้ว' อย่างแท้จริง นับจากเริ่มผลิต (1947) จนถึงวันที่ 6 สิงหาคม 1971 แว่นตาโมเดล 'ชูรอน รอนเซอร์' มียอดจำหน่ายทั่วโลกสูงถึง 16,000,000 คู่ อย่างไรก็ตาม ยังมีนวัตกรรมแว่นตา 'ชูรอน' อีกหลากหลาย น่าศึกษา ค้นคว้า และน่าสนใจอย่างยิ่ง ได้แก่ Freeway (หนึ่งในผู้สวมใส่แว่นตาโมเดลนี้คือ นักสิทธิพลเมืองผู้ยิ่งใหญ่ ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิง), Icebreakers และ Nulady เป็นอาทิ ค.ศ.1986 ตระกูลชูรอนขายกิจการให้แก่ 'ชาร์ลส์ ไวท์ฮิลล์' (Charles Whitehill) ชาวอเมริกันจากเมืองพิตต์สเบิร์ก อดีตพนักงาน 'ผ้าขี้ริ้วห่อทอง' ในบริษัท 'ชูรอน' ตั้งแต่ ค.ศ.1975 ชาร์ลส์ บริหารกิจการต่อในแบบธุรกิจครอบครัว โดยตัวเขาเองเป็น CEO และ 'ชัค' (Chuck) บุตรชาย ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท ปัจจุบัน 'ชูรอน' ย้ายฐานการผลิตมายังไมอามี่และซันไรส์ฟลอริดา สำนักงานใหญ่ยังคงตั้งอยู่ในเซาท์แคโรไลนา นับเป็นแว่นตาอเมริกันแฮนด์คราฟท์พันธุ์แท้ (เพียงไม่กี่ราย) ที่ทุกขั้นตอนการผลิตยังคงทำในสหรัฐอเมริกา. เจ้าคุณทิพย์ : เขียน _______________ ¹ จากคอลัมน์ 'ปกิณกะแว่นตา บทที่ ๓๒ : ชูรอน (Shuron) แว่นตาโบราณ 155 ปี ตำนานอเมริกันแฮนด์คราฟท์ที่ยังมีชีวิต' ในเพจ : แว่นตา ของวินเทจ เจ้าคุณทิพย์ ² อ่านเรื่องราว ประวัติศาสตร์แว่นตาอเมริกันได้จากคอลัมน์ 'ปกิณกะแว่นตา บทที่ ๒๖ : เหลียวมองดูรูปทรงแว่นตาโบราณ มรดกทางวัฒนธรรมจากยุคก่อน–ระหว่าง และ หลังสงครามกลางเมืองอเมริกา ' ในเพจ : แว่นตา ของวินเทจ เจ้าคุณทิพย์ ³ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแว่นตา 'นายกสโมสร' ได้จากคอลัมน์ 'ปกิณกะแว่นตา บทที่ ๗ : แว่นตานายกสโมสร 'คลับมาสเตอร์' ในเพจ : แว่นตา ของวินเทจ เจ้าคุณทิพย์ *** หมายเหตุ : หากข้อเขียนนี้ จะอำนวยประโยชน์ให้เกิดแก่สังคมและสาธารณชน ผู้เขียนยินดีอย่างยิ่ง แต่หากนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โปรดขออนุญาตก่อน □■□■□■□■□■ แว่นตาโบราณทรง 'วินด์เซอร์' สัญลักษณ์ของผู้แสวงหาสันติภาพ* ทศวรรษที่ 1960's สงครามเย็นระหว่างสองขั้วมหาอำนาจ โซเวียต - สหรัฐอเมริกา แผ่ขยายไปทั่ว สันติสุขของโลกแขวนบนเส้นด้ายที่ขึงตึงระหว่างลัทธิสังคมนิยม กับ ทุนนิยม ท่ามกลางกระแสคัดค้านของคนรุ่นใหม่ การเคลื่อนไหวของขบวนการต่อต้านวัฒนธรรม ส่งต่อความคิดพวกเขา ผ่านงานวรรณกรรม ดนตรี และศิลปะสาขาต่าง ๆ อย่างทรงพลัง โลกในสายตาคนหนุ่มสาวยุคนั้น เหมือนมองผ่านกรอบแว่นตาของ จอห์น เลนนอน (John Lennon AD1940 - 1980) ศิลปินเพื่อสันติภาพชาวอังกฤษ ที่ชีวิตและผลงานของเขามีส่วนสำคัญในการโหมกระพือวัฒนธรรมใหม่ของบุปผาชน¹ ว่าแต่ แว่นตากลม ๆ เล็ก ๆ ของจอห์น ที่เรียกกันภายหลังว่า 'หยดน้ำกลม และ หยดน้ำแพนโต้ จอห์น เลนนอน²' (Round Metal Circle and Round Metal Panto John Lennon) มีที่มาที่ไปอย่างไร เราขยับเข้าใกล้มันสักนิดด้วยข้อเขียนสั้น ๆ ชิ้นนี้ ย้อนไปในทศวรรษ 1880's ณ วินด์เซอร์ (Windsor) เมืองเก่าในมณฑลบาร์กเซอร์ ทางตะวันตกของลอนดอนในสหราชอาณาจักร แว่นตาทรงกลม มีคานโค้งเหมือนอานม้า (Saddle Bridge หรือ W Bridge) ถืออุบัติขึ้นเป็นครั้งแรก มันถูกขานนามตามถิ่นกำเนิดว่า 'แว่นตาทรงวินด์เซอร์' (Windsor Eyeglasses Style) รูปลักษณ์บ่งชี้ของ 'วินด์เซอร์' มีดังนี้ : ■ เลนส์ทรงกลมขนาดเล็ก ■ สะพาน หรือ คานแว่นทรงอานม้า ไม่มีแป้นรองจมูก³ ■ ขาเกี่ยวรอบใบหู (Cable Temples) อัตลักษณ์โดดเด่นที่เป็นหัวใจของมันก็คือ 'คานทรงอานม้า' ไม่เพียงรูปแบบแตกต่างเท่านั้น แต่มันสามารถกระจายน้ำหนักบนปลายจมูกได้อย่างอัศจรรย์เมื่อยามสวมใส่ ให้ความรู้สึกเบาสบาย (ยิ่งกว่าแว่นตาสมัยใหม่ซะอีก) ขาเกี่ยวโค้งรอบใบหู ถูกออกแบบรองรับการสวมใส่ขณะควบขี่ม้าในสมัยนั้น ไม่ให้แว่นตาหลุดกระเด็นโดยง่าย ที่สำคัญแว่นตาวินด์เซอร์มีขนาด 'เล็ก' และ 'แคบ' กว่าปกติ เพราะคานทรงอานม้าของมันนั่นเอง ทำให้กรอบแว่นตาอยู่ชิดใบหน้ามากกว่าแว่นตายุคหลัง ที่มีแป้นรองจมูกยื่นออกมา ทว่ามันกลับก่อให้เกิดภาพลักษณ์เรียบง่าย งดงาม คลาสสิคยิ่งกว่าแว่นตาชนิดใด ๆ ค่าเฉลี่ยความกว้างปกติของเลนส์แว่นตาวินด์เซอร์ อยู่ระหว่าง 36 - 42 มม. เท่านั้น ขณะแว่นตาสมัยใหม่กว้างเฉลี่ยถึง 47 - 60 มม. ความกว้างโดยรวมของแว่นตาวินด์เซอร์ : ขนาดเล็ก 108 - 112 มม. ; ขนาดกลาง 115 - 118 มม. ; ขนาดใหญ่ เกิน 120 มม. ขึ้นไป สะพาน หรือ คานแว่น ของวินเซอร์ อยู่ระหว่าง 19 - 27 มม. ขนาดที่เหมาะสมสำหรับคนส่วนใหญ่คือ 20 - 25 มม. วินด์เซอร์มักปรากฏโฉมในร่าง โลหะเงิน (Silver), เหล็กโรมัน (Roman Steel), ทองโกลด์ฟิลด์ (Gold Filled), ทองขาว (White Gold Filled), นิคเกิล (Nickel) รวมทั้งที่หาได้ยากยิ่งคือ ทองคำแท้ (Solid Gold) ระยะต่อมา กรอบ (Eyerims) ของแว่นตาวินด์เซอร์ ได้รับการเสริมแต่งบางอย่าง เช่น นิยมหุ้มด้วย 'เซลลูลอยด์' (Celluloid) สีดำ น้ำตาล หรือลายกระ (Tortoise Shell) เพื่อป้องกันการแตกร้าวของกรอบ และปฏิกิริยาของโลหะที่เกิดความร้อนเมื่อสวมใส่กลางแสงแดด ขณะที่ก้านขาสปริงเกี่ยวก็ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบ L เนื่องจากเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่จำเป็นต้องใช้แว่นตาขาเกี่ยวสำหรับขี่ม้าอีกต่อไป ปลายศตวรรษที่ 19 ประดิษฐกรรมแว่นตาทรงวินด์เซอร์ของชาวอังกฤษ แพร่กระจายรวดเร็วไปยังนานาประเทศ หลักฐานจากภาพเขียนสีน้ำมันในพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน วอชิงตัน แสดงให้เห็นว่า บางส่วนของอเมริกันชนยุคนั้น เริ่มสวมใส่แว่นตาทรงวินด์เซอร์กันบ้างแล้ว ครั้นถึงทศวรรษ 1900's อิทธิพลของวินด์เซอร์ ก็ครอบงำโลกแว่นตาทั้งในอเมริกาและยุโรป บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่สวมใส่แว่นตาวินด์เซอร์ จากอดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่ มหาตมะ คานธี, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, เท็ดดี รูสเวลท์, เซอร์ เอ็ดมันด์ ฮิลลารี, เฮอร์มานน์ เฮสเส, เจมส์ จอยซ์, เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, จอห์น เลนนอน, ออสซี ออสบอร์น ฯลฯ อย่างไรก็ตาม มีอัจฉริยบุคคลเพียง 2 เท่านั้น ที่แนบชิด กระทั่งกลายเป็นภาพลักษณ์ของ วินด์เซอร์ ในสายตาชาวโลก นั่นคือ มหาตมะ คานธี มหาบุรุษแห่งอินเดีย นักอหิงสาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล และ จอห์น เลนนอน ศิลปินเจ้าของจินตนาการที่ว่า...สักวันโลกจะเป็นหนึ่งเดียว ดังนั้น ไม่ต้องสงสัย เข้าใจตรงกันครับ วินด์เซอร์ แว่นตาโบราณหนึ่งเดียวนี้ เปรียบได้ดั่ง 'สัญลักษณ์' บนใบหน้าของผู้แสวงหาสันติภาพอย่างแท้จริง. เจ้าคุณทิพย์ : เขียน *จากคอลัมน์ 'ปกิณกะแว่นตา บทที่ ๓๗ : แว่นตาโบราณทรง 'วินด์เซอร์' สัญลักษณ์ของผู้แสวงหาสันติภาพ' ในเพจ : แว่นตา ของวินเทจ เจ้าคุณทิพย์ __________ ¹ อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมจากคอลัมน์ 'ปกิณกะแว่นตา บทที่ ๒๙ ทีเฉด (Teashade) : หนึ่งในตำนานแว่นตาบุปผาชน 1 : ภาคพิสดาร : ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ' ² อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมจากคอลัมน์ 'ปกิณกะแว่นตา บทที่ ๓๐ และ ๓๑ 'แว่นตา จอห์น เลนนอน : ซิกเนเจอร์ของ 'สันติภาพ' และ 'ความรัก' (ตอนที่ ๑ และ ๒) ในเพจ : แว่นตา ของวินเทจ เจ้าคุณทิพย์ ³ Nose Pads แป้นรองจมูกของแว่นตา คิดค้นขึ้นในราวทศวรรษ 1920's ***หมายเหตุ : หากข้อเขียนนี้ จะอำนวยประโยชน์ให้เกิดแก่สังคมและสาธารณชน ผู้เขียน 'เจ้าคุณทิพย์' ยินดีอย่างยิ่ง แต่หากนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โปรดขออนุญาตก่อน □■□■□■□■□ Antique SHURON John Lennon's Windsor 1/10 12K 40 □ 25 Gold Filled Frame 12 K Classic John Lennon's Windsor Model Beautiful Vintage Brown Tinted Glasses Lenses Handcrafted in the 1950's in Rochester, New York, USA มือสอง 'ชูรอน' (Shuron) แว่นตาโบราณเก่าแก่เป็นลำดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา ผลงานสร้างสรรค์ในทศวรรษที่ 1950's โดยช่างฝีมือแห่งเมืองโรเชสเตอร์ ของ 'ชูรอน' ตำนานแว่นตาที่ยังมีชีวิต ขนาดมาตรฐานของโมเดลนี้ 120 mm ■ ด้านหลัง 'คานอานม้า' (Saddle Bridge) ตอกอักขระสำคัญ 'G.F. SHUR-ON- 1/10 12K' โปรดขยายดูรูปถ่ายซูมในภาพ Grid กรอบที่ 10 สภาพเทพ / เก่าเก็บ / ใช้งานทนุถนอม วัสดุทุกชิ้นส่วนออริจินัล เดิม ๆ 100\% ไม่มีชุบ ไม่มีเชื่อม ไม่มีซ่อม ไม่มีการดัดแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น องคาพยพทุกส่วนล้ำค่า สิริมายุ (เก่าเก็บ) 70 ปี สร้างขึ้นจากวัสดุ 'ดี' ที่สุดและ 'ล้ำค่า' ที่สุดในการผลิตแว่นตา 'ทองคำแท้ผสม' (Gold Fillled) 12 KGF สัดส่วนทองคำบริสุทธิ์ 50\% ทองเต็ม ! สุกสกาววาววับ ! ดีไซน์ตามขนบโมเดลโบราณ 'วินด์เซอร์' (Classic Windsor Spectacles Model) ที่ถือกำเนิดในอังกฤษเมื่อทศวรรษที่ 1880's เป็นหนึ่งในแว่นตาคู่บารมีของเหล่าบุคคลในอดีต ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 ■ โลกรู้จักแว่นตาทรงโบราณ 'วินด์เซอร์' จากการสวมใส่ของบุคคลระดับตำนาน อาทิ มหาตมะ คานธี, ธีรโอดอร์ รูสเวลต์, เจมส์ จอยซ์, เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, จอห์น เลนนอน ฯลฯ *** พิเศษสุด : เลนส์กระจกวินเทจ หายาก 'สีน้ำตาล - ชา' (Beautiful Vintage Brown Tinted Glasses Lenses) อ่อนโยน กระจ่างใส เสน่ห์แรงส์ ไม่เปลี่ยนแปลงสีจริงในธรรมชาติ โฟกัสดีเยี่ยม สภาพเลนส์ซุปเปอร์นางฟ้า 99\%+ สวมใส่ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน *** สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนเป็นเลนส์สายตา ทำได้สบายมาก เหมาะสมและงดงามอย่างยิ่งเช่นกัน *** ความกว้างโดยรวม 120 mm (ขนาดมาตรฐานของโมเดลนี้ / Standard Size / ไมเหมาะสำหรับคนใบหน้าใหญ่) ; ขนาดเลนส์ 40 mm ; ความสูงเลนส์ 40 mm ; ความยาวขา 180 mm โอกาสทอง แว่นตาโบราณ 'ชูรอน / จอห์น เลนนอน'ส วินด์เซอร์' ทศวรรษที่ '50s ทองโกลด์ฟิลด์ 12 K ล้ำค่า - หายากฝุด ๆ ฟาดเปรี้ยงมาตรงหน้า ไม่รีบคว้าเอาไว้ จะเจ็บใจตัวเองนะ...สิบอกให้ ! ราคาบ้าน ๆ ตามประสาลูกผู้ชายชื่อ ไอ้แผน เหมียน..เดิม ! 3,500 บาท (ราคาเน็ต / Net Price) พร้อมกล่อง ฮาร์ดเคส และ ผ้าเช็ดแว่นไมโครไฟเบอร์ อีกต่างหาก ! สนใจติดต่อ : เจ้าคุณทิพย์ โทร 085 xxxx xxx หรือ Line ID : chaokuntip ***โปรดกดถูกใจ ติดตาม และกดแชร์ เพจ : แว่นตา ของวินเทจ เจ้าคุณทิพย์ ขอบคุณมากครับ ■ บรรยายภาพ Grid กรอบที่ 1 : ภาพแรก : ใบปิดภาพยนตร์เรื่อง 'คานธี' (Gandhi) ผลงานศิลปะลัทธิจุลนิยม (Minimalism Art) ของ Chungkong ภาพสุดท้าย : โปสเตอร์ จอห์น เลนนอน 'ประชาชนเพื่อสันติภาพ' (People for Peace)
แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 19/4/2565
สร้างเมื่อ : 31/3/2563
เลขที่ประกาศ :mALEzgJORd
฿ 3,500