1. /
    หมวดหมู่สินค้าทั้งหมด
  2. /
    น้ำมันเครื่อง ของเหลว
  3. /
    เครื่องยนต์
  4. /
    กรุงเทพ

น้ำมันเครื่อง ของเหลว เครื่องยนต์ กรุงเทพ มือสอง

4 รายการ

4 รายการ

ช่วงราคา
-
เรียงตาม

ล้างตัวกรอง

กรุงเทพ
น้ำมันเครื่อง ACDELCO เกรด 5W-30 1 ลิตร
icon-open-in-new

น้ำมันเครื่อง ACDELCO เกรด 5W-30 1 ลิตร

฿ 390
icon-marker-outline
กรุงเทพ
icon-t2h-ribbon
น้ำมันเครื่อง ACDELCO เกรด 5W-30 6 ลิตร
icon-open-in-new

น้ำมันเครื่อง ACDELCO เกรด 5W-30 6 ลิตร

฿ 1,990
icon-marker-outline
กรุงเทพ
น้ำมันเครื่อง ACDELCO เกรด 5W-40 1 ลิตร
icon-open-in-new

น้ำมันเครื่อง ACDELCO เกรด 5W-40 1 ลิตร

฿ 390
icon-marker-outline
กรุงเทพ
น้ำมันเครื่อง ACDELCO เกรด 5W-40 (6 ลิตร)
icon-open-in-new

น้ำมันเครื่อง ACDELCO เกรด 5W-40 (6 ลิตร)

฿ 1,990
icon-marker-outline
กรุงเทพ

น้ำมันเครื่อง รถยนต์มีกี่ชนิด

สวัสดีแฟนๆ Truck2hand ทุกท่าน วันนี้แอดมิน มีเรื่องราวสาระน่ารู้มาฝากแฟนๆ กันอีกเช่นเคย สำหรับวันนี้ จะมาพูดเกี่ยวกับ น้ำมันเครื่อง ว่ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติอย่างไร และวิธีการอ่านและแปลความหมายรหัสตัวเลขบนถังน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่อง เปรียบเสมือนระบบเลือดในร่างกายของเราเลยก็ว่าได้ น้ำมันเครื่องมีหน้าที่หลักในการหล่อลื่นกลไกต่างๆ ในการทำงานของเครื่องยนต์ แต่นอกเหนือจากหน้าที่ในการหล่อลื่นแล้ว น้ำมันเครื่องจะมีประโยชน์อะไรอีก เราไปดูกัน

น้ำมันเครื่อง

รถยนต์ มือสอง สภาพดี ราคาถูก

หน้าที่ของ น้ำมันเครื่อง

  1. หล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ในเครื่องยนต์ ช่วยให้ชิ้นส่วนต่างๆ หมุน เคลื่อนที่ได้ราบลื่น
  2. ลดแรงเสียดทานและเสียงดัง ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน น้ำมันเครื่องจะทำหน้าที่เป็นชั้นฟิล์มแทรกตัวในช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนในเครื่องยนต์เพื่อช่วยหล่อลื่นและป้องกันการสึกหรอ
  3. ชะล้างคราบเขม่า ที่เกิดจากการเผาไหม้ และเศษต่างๆ ที่เกิดจากการเสียดสีของชิ้นส่วนในเครื่องยนต์

ประเภทของ น้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่อง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท หรือ 3 เกรด โดยแบ่งจากกรรมวิธีในการผลิต เราไปทำความเข้าใจกับน้ำมันเครื่องทั้ง 3 ประเภท กันเลย

  1. น้ำมันเครื่องธรรมดา หรือ Mineral oil เป็นน้ำมันเครื่องที่ผลิตมาจากน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานที่ผ่านกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ หรือ น้ำมันแร่ จากโรงกลั่นโดยตรง อายุการใช้งานแนะนำที่ประมาณ 5,000-7,000 กม. หรือ 4 เดือนเป็นน้ำมันที่มีอายุการใช้งานสั้น และราคาถูกที่สุด
  2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ หรือ Semi-synthetic เป็นน้ำมันที่นำน้ำมันแร่มาผสมกับน้ำมันสังเคราะห์ และผสมสารเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อเสริมคุณสมบัติให้น้ำมันหล่อลื่นดีขึ้นกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา อายุการใช้งานแนะนำที่ประมาณ 7,000 – 10,000 กม. หรือ 6 เดือน เป็นน้ำมันที่มีประสิทธิภาพดี และราคายังไม่แพงมาก จึงเป็นน้ำมันที่ลูกค้านิยมที่สุด
  3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์แท้ หรือ Fully Synthetic เป็นน้ำมันที่ผลิตมาจากน้ำมันสังเคราะห์ 100% และผสมสารเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ป้องกันการสึกหรอได้ดีที่สุด ทั้งในสภาวะเครื่องยนต์อุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ รองรับการใช้งานทุกสภาพการขับขี่ แต่ก็ตามมาด้วยราคาที่แพงที่สุด อายุการใช้งาน อยู่ที่ 10,000-15,000 กม. หรือ 9 เดือน

ชุมชนคนซื้อขาย by Truck2hand

น้ำมันเครื่อง

วิธีอ่านค่ารหัสบนถังน้ำมันเครื่อง

อักษรย่อหน้าค่าความหนืด

ตัวอักษรย่อ หน้าค่าความหนืด คือ ตัวย่อของสถาบันที่ทำการทดสอบและรับรองคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ซึ่งจะมีอยู่ 3 สถาบัน คือ

1. API หรือ AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัย และวางมาตราฐานเกี่ยวกับน้ำมันต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

2. SAE หรือ SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS คือสมาคมที่ค้นคว้าวิจัยและวางหลักเกณฑ์มาตราฐานต่างๆ เกี่ยวกับรถยนต์ต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

3. ASTM หรือ AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS เป็นสมาคมที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทดสอบวัตถุต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

เลขรหัสเบอร์ น้ำมันเครื่อง

เป็นเลขที่บ่งบอกประสิทธิภาพและความหนืดของน้ำมันเครื่อง เช่น 0W-40, 5W-40, 10W-30 สำหรับตัวเลขที่กล่าวไปนี้ จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ น้ำมันเครื่องที่ใช้ในช่วงฤดูหนาว และ ฤดูร้อน

โดยกลุ่มตัวเลขที่บ่งบอกการใช้ในอุณหภูมิหนาวเย็น จะมีตัวอักษร W ซึ่งวัดความหนืดที่อุณหภูมิ -30 ถึง -5 องศาเซสเซียส เช่น 5W คือ ทนอุณหภูมิที่ -5 C ได้ หรือ 10W ทนอุณหภูมิที่ -10 C ได้

ส่วนน้ำมันเครื่องสำหรับอุณหภูมิสูง จะทำการทดสอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซสเซียส จะปรากฎตัวเลขชุดที่สอง เช่น 20, 30, 40 ซึ่งเบอร์น้อยน้ำมันจะใส และเบอร์เยอะน้ำมันจะข้นกว่า

ส่วนจุดสั่งเกตุว่าน้ำมันเครื่องนั้น เป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล หรือ เบนซิน ให้สังเกตุจากมาตรฐาน API เช่น ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์เบนซิน จะมีตัว S หรือ (Service Stations Classifications) ปรากฎอยู่ เช่น API-SG , API-SM และ API-SN เป็นต้น แต่ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จะมีตัว C หรือ (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) ปรากฎอยู่ เช่น CD , CE หรือ CF4 เป็นต้น

และจะมีน้ำมันเครื่องที่สามารถใช้ได้ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล ซึ่งจะมีตัวอักษรทั้ง S และ C ปรากฎอยู่ เช่น API SN/CF ส่วนจุดสังเกตุว่าน้ำมันเครื่องนั้นเหมาะกับเครื่องยนต์ไหนมากกว่า ให้สังเกตุจากตุวอักษรว่าอะไรอยู่หน้า เช่นตัวอย่าง API SN/CF น้ำมันเครื่องตัวนี้ จะเหมาะกับเครื่องยนต์เบนซินมากกว่า นั้นเอง

รถบรรทุก มือสอง

น้ำมันเครื่อง

ถ้ารถเราเป็นรถเก่า ควรใช้น้ำมันเครื่องประเภทไหน?

สิ่งที่ต้องพิจารณาหลักๆเลย คือ ควรเลือกน้ำมันเครื่อง ที่มีความหนืดเหมาะสมกับสภาพเครื่องยนต์ของรถคันนั้น เช่น ถ้าเป็นรถใหม่ควรเลือกน้ำมันที่มีความใส เพื่อช่วยในการประหยัดน้ำมัน เพราะ เครื่องยนต์ยังใหม่อยู่ ช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนในเครื่องยนต์ยังน้อย สามารถใช้น้ำมันที่มีความใสได้ เช่น 0W-20 แต่ถ้ารถของคุณเป็นรถเก่า แนะนำให้ใช้น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดมากขึ้น เนื่องจากเครื่องยนต์มีการสึกหรอ เกิดช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนมากขึ้น ดังนั้นควรใช้น้ำมันที่หนืดมากหน่อย เพื่อจะได้แทรกในช่องว่างของชิ้น่วนในเครื่องยนต์ได้่ เพื่อลดปัญหาการกินน้ำมันเครื่องได้ เช่น 5W-40, 10W-30 เป็นต้น หรือ ใช้น้ำมันเครื่องตามมาตรฐานที่ระบุในคู่มือการใช้รถที่ผู้ผลิตกำหนด ก็จะง่ายในการเลือก และ เหมาะสมกับนถยนต์ของท่าน ครับ

รถกระบะ มือสอง

เป็นอย่างรกันบ้างครับ สำหรับ เรื่องของน้ำมันเครื่องที่แอดมิน นำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ น่าจะช่วยเพิ่มเติมข้อมูลให้กับแฟนๆ Truck2hand ได้นำไปสังเกตุและเลือกใช้น้ำมันเครื่องกันได้มากขึ้ยนะครับ

และครั้งหน้าแอดมินจะมีเรื่องราวดีๆ อะไรมาฝากแฟนๆกันอีก ฝากติดตามด้วยนะครับ

สีน้ำมันเครื่องบอกอะไร? สีน้ำมันเครื่อง บอกประสิทธิภาพและช่วงเวลาที่ควรเปลี่ยน

เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารดีๆจากเราอย่าลืมแวะเข้ามาดู Blog ของเราบ่อยๆกันนะครับ

แหล่งข้อมูล

https://www.autospinn.com/2013/12/vdo-knowledge-engine-lubricant

https://auto.mthai.com/news/tips/87174.html

https://www.freepik.com/free-photo/mechanic-pouring-oil-into-car-engine_1005224.htm

https://www.freepik.com/free-vector/engine-pistons-mineral-oil-gasoline-realistic-illustration-isolated-white-background_3685334.htm

https://www.freepik.com/free-photo/plastic-bottles-from-automobile-oils-isolated-white_20979263.htm