1. /
    บทความ
  2. /
    วัดความคุ้มค่า! รถบรรทุก CNG , NGV , LPG หรือ รถน้ำมันดีเซลเดิมๆ ใครคุ้มกว่า ณ ปี 2021 - Truck2Hand.com

วัดความคุ้มค่า! รถบรรทุก CNG , NGV , LPG หรือ รถน้ำมันดีเซลเดิมๆ ใครคุ้มกว่า ณ ปี 2021 - Truck2Hand.com

ผู้เขียน: Mukสาระน่ารู้16/11/2564
check email
แชร์
LINE
Facebook
Twitter
Pinterest
วัดความคุ้มค่า! รถบรรทุก CNG , NGV , LPG หรือ รถน้ำมันดีเซลเดิมๆ ใครคุ้มกว่า ณ ปี 2021 - Truck2Hand.com

รถบรรทุก CNG เริ่มกลับมาเป็นที่ต้องการของตลาดอีกครั้งในช่วงกลางปี 2564 ที่ผ่านมาที่ราคาน้ำมันนั้นปรับขึ้นเป็นระยะๆ ทั้งนี้ราคาน้ำมันโดยปกติจะอ้างอิงตามราคาตลาดโลก ซึ่งช่วงที่ผ่านมานั้นราคาน้ำมันโลกมีการปรับขึ้นอยู่โดยตลอด ส่วนองค์ประกอบอื่นๆในประเทศ?ไทยนั้นไม่ว่าจะเป็น เงินสนับสนุนกองทุน หรือ ภาษีสรรพสามิต ก็เป็นองค์ประกอบของราคาเช่นเดียวกัน

เมื่อไรที่ราคาน้ำมันโดยเฉพาะกลุ่มดีเซล ถ้ามีการปรับราคาขึ้น ขะส่งผลโดยตรงต่อผู้ประกอบการณ์ขนส่งโดยตรง เพราะในประเทศไทยนั้นยังต้องพึ่งระบบการขนส่งทางถนนเป็นหลัก เพราะยังไม่มีระบบรางที่ดีพอจะทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากพอ

ฉะนั้นเมื่อไรปรับขึ้นจะส่งผลต่อต้นทุนการขนส่งแน่นอน และเมื่อผู้ประกอบการประสบปัญหาสิ่งที่ตามมาคือราคาขายสินค้าต่างๆก็จะถูกปรับขึ้นตามไปด้วยไม่เว้นแต่สินค้าอุปโภค หรือ สินค้ากลุ่มการเกษตร ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลค่อนข้างอ่อนไหวต่อผู้ประกอบการณ์เป็นอย่างมาก

เรามาลองไล่ย้อนทบทวนความรู้เกี่ยวกับ รถบรรทุก CNG กันครับว่ามีที่มากันอย่างไรบ้าง และ ณ ปี2021 นี้ ใครคุ้มค่ากว่ากันระหว่างดีเซลเดิมๆ หรือ CNG

CNG กับ NGV ต่างกันอย่างไร

ก่อนอื่นเรามารู้จักชื่อเต็มของ CNG และ NGV กันก่อนครับ

CNG ย่อมาจาก Compressed Natural Gas ซึ่งแปลตรงตัวว่า ก๊าซธรรมชาติบีบอัด โดยในลักษณะจริงๆคือ ก๊าซธรรมชาติที่มีส่วนประกอบของ มีเทน เป็นส่วนประกอบหลักในการเผาไหม้แล้วบีบอัดเข้าไปในถังบรรจุที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ซึ่งสถานะของสสารในที่นี้จะมีลักษณะเป็นก๊าซ ถ้าเกิดการรั่วไหลออกไปจะกระจายออกไปตามอากาศอย่างรวดเร็ว ไม่มีการไหลลุกลามบนพื้นราบครับ

NGV ย่อมาจาก Natural Gas Vehicle ซึ่งหมายถึง ยานพาหนะที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง หรือบางทีจะเรียกว่า Gas Powered Vehicle ในภาษาอังกฤษ แต่ในประเทศไทยนั้นถูกตั้งเป็นชื่อตัวแทนของ ก๊าซเชื้อเพลิงให้รู้สึกน่าใช้งานมากขึ้น ฟังชื่อแล้วดูอันตรายน้อยลง เพื่อให้คนใช้รถในยุคนั้นกล้าหันมาใช้เชื้อเพลิงประเภทนี้มากขึ้น ซึ่งเนื้อในจริงๆคือเชื้อเพลิงประเภทเดียวกันกับ CNG นั่นเอง ทั้งหมดนี้ทำให้คำแปลตัวย่อในประเทศไทยจึงกลายเป็นคำว่า Natural Gas for Vehicle หรือ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานพาหนะนั่นเอง

CNG กับ LPG ต่าง กัน อย่างไร

LPG ย่อมาจาก Liquefied Petroleum Gas หรือ หมายถึง ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ซึ่งเป็นผลผลิตจากการแยกก๊าซธรรมชาติหรือการกลั่นน้ำมันดิบ โดยปกติแล้วจะนำไปใช้เป็นก๊าซหุงต้ม เชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ รวมถึงการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่างๆ โดย LPG มีสถานะเป็นของเหลว สามารถรั่วไหล กระจายตามพื้นและติดไฟได้

ลักษณะถังของ LPG นั้นจะเป็นถังสีดำมีสองแบบคือ ทรงแคปซูล และ ทรงโดนัท โดยใส่ไว้ในหลุมยางอะไหล่ และต้องมีการตรวจสภาพเป็นประจำ

ส่วน CNG อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นคือมีสถานะเป็นก๊าซ ที่อัดในถังอัดแรงดันสูงสีขาว สีครีม ถังจะหนาและมีน้ำหนักมาก จำเป็นต้องตรวจสถาพเป็นประจำเช่นกัน

ถัง CNG

CNG ผลิตมาจากอะไร

ก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยนั้นมีการนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2524 โดยมีจุดประสงค์เพื่อการผลิตไฟฟ้า และ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่ง ณ ปี พ.ศ. นั้นถ่านหินและน้ำมันเตามีมูลค่าแพง เนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศเท่านั้น ประกอบกับความผันผวนของราคาน้ำมันโลก ทำให้ประเทศไทยต้องศึกษาและนำก๊าซธรรมชาติมาใช้อย่างจริงจัง

ในส่วนของการเผาไหม้นั้นก๊าซธรรมชาตินั้นเผาไหม้ได้ดีกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และที่สำคัญคือไม่มีกากเชื้อเพลิงหลังการเผาไหม้ ส่วนการขนส่งก็ใช้การขนส่งทางท่อเพื่อลดค่าขนส่งและปลอดภัยกว่าการใช้รถขนส่งอีกด้วย แต่การวางท่อส่งก็เป็นเรื่องที่ต้องลงทุนสูงและต้องวางแผนใช้ในระยะยาว

อย่างไรก็ตามไม่ใช่แค่การขุดก๊าซธรรมชาติขึ้นมาแล้วเราจะได้ CNG ทันที เนื่องจากก๊าซธรรมชาติจะผสมไปด้วยสารหลายชนิด ซึ่งสารที่จำเป็ต้องใช้ในการผลิต CNG เพื่อนำไปใช้กับรถยนต์ คือ มีเทน ส่วนสารตั้งต้นอื่นๆ เช่น โพรเพน และ บิวเทน จะนำไปใช้กับก๊าซหุงต้ม ส่วนอีเธน ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

>> สินค้า Truck2Hand ฝากขาย CNG ทั้งหมด <<

สถานการณ์ของ รถบรรทุก CNG ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

เมือ่ดูสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลในไทยและทั่วโลก ช่วงปี พ.ศ. 2564 นี้ถือเป็นขาขึ้นของราคาน้ำมันโลก เช่นเดียวกับเมื่อช่วงปี 2549 ที่ รถบรรทุกติดแก๊ส เริ่มเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยมาก จนหลายๆค่ายรถยนต์ต้องผลิตรถ CNG แท้จากโรงงานออกมา เพื่อตอบโจทย์ตลาดในช่วงนั้น จากรูปที่แนบมาจะเห็นได้ว่าทั่วโลกมีการค้นหาคำว่า CNG มากเป็นพิเศษในช่วงปี 2007-2008 ซึ่งเริ่มมีวิกฤตราคาน้ำมัน และยังคงมีการค้นหาเรื่อยจนถึงช่วงปี 2014-2015

Trend CNG
Trend การค้นหาคำว่า CNG ทั่วโลก บน Internet

ส่วนในประเทศไทยนั้นเริ่มมีการค้นหาคำว่า CNG มากขึ้นในช่วง 2009 เป็นต้นมาจนถึงช่วงปี 2014 ที่การค้นหา CNG น้อยลง สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่เริ่มกลับมาในราคาที่ถูกลงด้วย

Trend CNG
Trend การค้นหาคำว่า CNG ของประเทศไทย บน Internet

นอกจากนี้ธุรกิจที่แพร่หลายมากในช่วงนั้นคือการลงเครื่อง CNG ให้กลุ่มรถยนต์หลากหลายประเภท โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่ต้องให้ความสำคัญกับต้นทุนเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น รถบรรทุก รถกระบะ รวมไปถึงรถแท๊กซี่อีกด้วย เพราะทำราคาได้ถูกกว่าน้ำมันดีเซลหรือเบนซิน

ซึ่งทำให้รถ CNG ในตลาดบ้านเรามีรถสองประเภทคือ CNG 100% กับ รถสองระบบ โดยรถ CNG 100% ส่วนใหญ่ผลิตจากโรงงานโดยตรง ส่วน รถสองระบบ ที่มีสวิทช์กดเปลี่ยนระบบนั้นมีทั้งที่เป็นแบบดัดแปลงจากร้านภายนอก และ มีรถยนต์นั่งบางรุ่นที่เป็นสองระบบเช่นกัน

รถบรรทุก CNG หรือ รถบรรทุกเครื่องดีเซลเดิมๆ

>> ดูรถ CNG มือสองทั้งหมด <<

จากที่เห็นผ่านประวัติศาสตร์มา เหตุผลหลักในการเลือกใช้รถบรรทุกติดแก๊ส ก็คือ ปัจจัยเรื่องราคาน้ำมัน เมื่อไรที่น้ำมันขาขึ้นอย่างน่าใจหาย ก็จะเป็นข้อได้เปรียบทันทีสำหรับรถที่ใช้ CNG ในการขับเคลื่อน แต่พอเวลาผ่านไปเมื่อราคาน้ำมันกลับมาสู่ภาวะปกติ ที่ผู้ประกอบการณ์รับต้นทุนได้ ก็จะหันมาใช้รถดีเซลเดิมๆกันมากกว่า จนในช่วงที่ผ่านมารถ CNG นั้นแทบจะหายไปจากตลาด รวมไปถึงปั๊มที่ใช้เติม CNG ด้วยเช่นกันที่หายสาบสูญตามกาลเวลา

รถบรรทุก CNG
ISUZU FTR CNG แท้จากโรงงาน

จนมาถึง ปี พ.ศ. ปัจจุบันนี้ ที่น้ำมันกลับมาแพงกระฉูดอีกครั้ง CNG ก็เลยกลับมาเป็นที่น่าสนใจของตลาดอีกครั้ง แต่คงไม่ได้บูมแบบรอบแรกแล้วเพราะ ทุกคนเห็นภาพมาก่อนแล้วว่า ถึงแม้จะช่วยให้ต้นทุนลดลงได้แต่ก็แค่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อเวลาที่ราคาน้ำมันกลับมาภาะปกติ CNG ก็จะถูกเมินอีกครั้งนึง

แล้ว CNG คุ้มจริงๆหรือไม่นั้น ต้องเทียบกันที่ต้นทุนต่อระยะทางที่วิ่งได้ด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่า อัตราการเผาผลาญของ CNG จะดีก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับรถเครื่องดีเซลแล้ว ยังเทียบกันได้ยากในส่วนของระยะทางที่วิ่งได้เมื่อเติมเต็มถัง

นอกจากนี้การเติม CNG สักครั้งนึงนั้นใช้เวลาเติมนานมาก เราจึงเห็นภาพที่รถต่อแถวเข้าคิวเติมแก็สยาวๆอยู่อย่างชินตา ในแง่ของการขนส่งก็จะเสียเวลาในการขนส่ง

ส่วนในระยะยาวนั้นเครื่องยนต์ CNG อายุการใช้งานก็จะเสื่อมสภาพไวกว่าเครื่องดีเซลอีกด้วย หมายความว่ารถบรรทุกดีเซลนั้นอายุการใช้งานยาวนานกว่าเครื่องยนต์แก็ส อย่างไรก็ตามตรงนี้เป็นข้อสมมติฐานและความเป็นไปได้เท่านั้น

การสลับเครื่องเป็น รถบรรทุก CNG คือ ทางออกหรือไม่

แนวความคิดนี้ออกมาในช่วงที่ราคา ดีเซล ถูกลงหลังจากผ่านวิกฤตไปแล้ว ทำให้มีการตามหาเครื่องดีเซลที่หลายๆคนเปลี่ยนออไปในช่วงวิกฤต รวมไปถึงตามหาเครื่องยนต์จากตลาดมือสองอย่างเซียงกง เพื่อนำมาเปลี่ยนรถบรรทุกของตนเองให้กลับมาเป็นระบบดีเซล

ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนทั้งหมดนั้นจะแพงที่ค่าเครื่องยนต์เป็นหลัก ซึ่งราคาและสภาพก็จะต่างกันออกไปเท่าที่ตามหาได้ ตกประมาณ 150,000 – 250,000 บาท ยังไม่รวมอุปกรณ์อื่นๆ และค่าแรงในการทำ ซึ่งเบ็ดเสร็จแล้วก็เกือบห้าแสนเลยทีเดียว

ดังนั้นแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนเครื่องจึงเป้นอีกแนวคิดที่ทำได้ แต่จะทำจริงหรือไม่ควรคำนึงถึงเงินลงทุนก้อนนี้ด้วย

การใช้อะไหล่ก็เช่นกัน กรณีเปลี่ยน แก็สเป็นดีเซล เรายังพอหาอะไหล่แท้มาเปลี่ยนได้ แต่กรณีที่จะเปลี่ยน ดีเซลเป็นแก็สบอกได้เลยว่าหาอะไหล่แท้คุณภาพดีได้ยากจริงๆ ทางออกคือการเทียบอะไหล่ เพื่อให้การดัดแปลงสมบูรณ์และได้ราคาที่ถูกลงด้วย

HINO FM2 CNG 360 แรงม้า
HINO FM2 CNG 360 แรงม้า

สรุป

โดยสรุปแล้วการเปลี่ยนจะวิธีไหน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ รถบรรทุกมือสอง ที่ติด CNG มาใช้งานหรือการสลับเครื่องยนต์ล้วนแล้วแต่เป็นการลงทุนทั้งนั้น ดังนั้นการคิดลงทุนควรคิดถึงผลในระยะยาว เรายังเชื่อว่ารัฐบาลต้องคิดหาวิธีดึงราคาดีเซลไม่ให้สูงไปกว่านี้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในระยะยาวต่อเศรษฐกิจ

ดังนั้นเรายังคิดว่า CNG ก็เป็นทางออกชั่วคราวเท่านั้นสำหรับวิกฤตเช่นนี้ แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์นี้จะยาวนานหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการที่จะดึงราคาดีเซลให้ต่ำลงมาจนถึงจุดที่ผู้ประกอบการณ์สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ แต่ถ้าสถานการณ์ยืดเยื้อออกไป รถบรรทุก CNG ก็จะผงาดกลับมาเป็นที่ต้องการของตลาดอีกได้เช่นกัน

แชร์

LINE
Facebook
Twitter
Pinterest

หมวดหมู่

สาระน่ารู้

Truck2Hand

ศูนย์ช่วยเหลือ